หน้าแรก »
กรุพระ »
พระพุทธรูปพระบูชา » พระสมัยอยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นับเป็นศูนย์กลางทางด้าน ‘งานศิลปะ’ นับเนื่องเป็นเวลาหลายร้อยปีปรากฏงานประเภทหัตถศิลป์ เช่น เบญจรงค์ ลายรดน้ำ งานหัตถกรรม และอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งงานประเภทหนึ่งที่น่าค้นคว้าศึกษาเป็นที่ยิ่งได้แก่ “งานปฏิมากรรม" เนื่องจากมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง หากเป็นอยุธยาบริสุทธิ์ จะว่างามแท้ก็ไม่งามมากทีเดียว ซึ่งอาจดูเค้าโครงจากยุคแรกๆ จนถึงยุคหลังได้ว่า ...
ในยุคแรกนั้น งานปฏิมากรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา จะทำจากสัมฤทธิ์บ้าง มีการพอกศิลาก่ออิฐถือปูน ซึ่งก่อนหน้านั้นจะมีลักษณะงดงาม เคร่งครึม ที่เราเรียกว่า “ยุคอู่ทอง" ในราวปี พ.ศ.1893 พระพักตร์เคร่งขรึม มีศิราภรณ์ประดับ เช่น เศียรพระธรรมมิกราช ที่พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากเขมร โดยเฉพาะพระพักตร์ นอกจากนี้ยังนิยมสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ อย่างเช่นที่ วัดพนัญเชิง ซึ่งปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับ ‘หลวงประเสริฐอักษรนิต’ ว่า สร้างก่อนพระนครศรีอยุธยา 26 ปี และแพร่หลายมาจนถึงสมัยพระบรมไตรโลกนาถ เช่น พระที่วัดมหาธาตุ เนื่องจากอยุธยาเข้าไปมีอำนาจเหนือสุโขทัย ทำให้ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย ส่งผลให้พระพุทธรูปอ่อนช้อยงดงามกว่าเดิม
ต่อมา ศิลปะพระพุทธรูปเริ่มแสดงความเป็นตัวตนของอยุธยาชัดเจนขึ้น ทั้ง ‘พระพุทธรูปและพระเครื่อง’ คือ เริ่มคลี่คลายจากความงามลง ดูเร่งรีบเพื่อรับศึกสงคราม มีไรพระศกใหญ่ เส้นสังฆาฏิหนา แลดูขาดจิตวิญญาณ เหมือนเช่นพระพุทธรูปสุโขทัยและอู่ทอง ส่วนฐานเพิ่มลวดลาย เช่น ดอกบับ นักษัตร กระจัง สัตว์ในวรรณคดี หรือเรื่องราวทางพุทธประวัติ ทำให้ฐานโค้งมากกว่าปกติ เช่น พระพุทธโลกนาถ วัดพระเชตุพนฯ ที่อัญเชิญจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ จ.พระนครศรีอยุธยา หรือ พระมงคลบพิตร เป็นต้น

พระพุทธโลกนาถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

พระมงคลบพิตร
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช นิยมสร้างพระพุทธรูปด้วยหินทราย เพราะมีอิทธิพลเหนือเขมร แต่ช่างปูนยังสู้เขมรไม่ได้ ดังพระที่วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา ผิดกับงานทาง จ.ลพบุรี ที่มีพระพุทธรูปหินทรายเช่นกัน (โดยเฉพาะ ‘ปางนาคปรก’ งดงามมาก แล้วยังเริ่มลักษณะความเป็นสยามลงในพระพักตร์ พบมากที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี) ซึ่งพระพุทธรูปเหล่านี้ส่งอิทธิพลโดยตรงต่องานสร้างพระเครื่องในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มีลักษณะไม่สู้จะงดงามนัก แต่เข้มขลังด้วยพุทธาคมแบบเขมร เช่น พระกรุวัดราชบูรณะ พระตะไกรหน้าต่างๆ พระยอดธง

พระกรุวัดราชบูรณะ
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งแรก สยามก็รับอิทธิพลทางศิลปะของเมียนมาร์และมอญ มาผสมผสานในงานปฏิมากรรมอยู่ยุคหนึ่ง เช่น วัดมอญจะมี ‘เสาหงส์’ หันไปทางทิศที่เมืองมอญเก่าเคยตั้ง การสร้างเจดีย์ที่มีร่องรอยของเมียนมาร์ เช่น เจดีย์ภูเขาทอง โดยเฉพาะที่ล้านนานั้น เมียนมาร์เข้าครอบครองเกือบ 200 ปี จึงรับอิทธิพลของเมียนมาร์ไปอย่างมากมาย

พระขุนแผน กรุโรงเหล้า
จึงอาจสรุปลักษณะของ “พระเครื่องสมัยกรุงศรีอยุธยา” ได้ว่า ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปโดยตรง และสร้างเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในศึกสงคราม เช่น พระขุนแผน ในการสร้างนั้นมีทั้งเนื้อโลหะ เนื้อดิน สภาพไม่สู้งดงามนัก จนสิ้นอยุธยามาเริ่มสมัยรัตนโกสินทร์ งานปฏิมากรรมจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยมีอิทธิพลจากตะวันตกเข้าผสมผสานครับผม
โดย อ.ราม วัชรประดิษฐ์
Share :
พระพุทธรูปพระบูชาอื่นๆ
|
|
พระพุทธบุศยรัตน์
“จันทรเทวบุตรได้แก้วผลึกขาวงดงามมาจากพระอรหันต์ แล้วให้พระวิษณุกรรมทรงสร้างเป็นพระพุทธปฏิมากร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ 4 องค์ คือ ในพระนลาฏ พระเมาลี พระอุระ และพระโอษฐ์”
เหตุที่มีการสร้างพระพุทธรูปกลางแจ้ง
ในอดีตกาล พระพุทธรูป ถือว่าเป็นหนึ่งใน ‘เจดีย์ (เจติยะ)’ แห่งพระบวรพุทธศาสนา ประเภท "อุเทสิกะเจดีย์" อันหมายถึง สิ่งที่สร้างเพื่ออุทิศให้พระศาสนา นอกเหนือจากนี้ก็มี ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ และธรรมเจดีย์ ดังนั้น เวลาทำการเคารพสักการะเจดีย์ต่างๆ เหล่านี้ มิใช่เพียงใช้การกราบไหว้หรือถวายดอกไม้ธูปเทียนเป็นพุทธบูชาเฉกเช่นในปัจจุบัน หากแต่จะใช้วิธีการเดินเวียนขวาที่เรียกว่า ‘ทักษิณาวัฎ 3 รอบ’
การดูพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์
"เป็นหนึ่งในหลักวิชาการที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝน จึงขอนำหลักการเบื้องต้นของพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์ ว่าความเก่าใหม่นั้นดูอย่างไร"
พระอัฎฐารส
พระอัฎฐารสเป็นพระพุทธรูปโบราณอาจกล่าวได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของอาณาจักรสุโขทัยก่อนที่จะรวมเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพุทธลักษณะจะเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่สูงตระหง่าน เป็นเอกลักษณ์แสดงถึงอิทธิพลเชิงช่างของสุโขทัยแต่ให้รายละเอียดและความงดงามสมบูรณ์สู้พระนั่งของสุโขทัยได้ไม่เต็มที่นักในศิลาจารึกสุโขทัยกล่าวถึงว่า
พระพุทธไสยาสน์ สิริมงคลของผู้เกิดวันอังคาร
“คติการสร้าง‘พระพุทธรูปปางไสยาสน์’ก็เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้รำลึกนึกถึงการเสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นอนุสติเตือนใจให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เพราะสังขารทั้งหลายนั้นไม่เที่ยง แม้พระพุทธองค์ยังเลี่ยงไม่พ้น”
พระพุทธบุศยรัตน์
“จันทรเทวบุตรได้แก้วผลึกขาวงดงามมาจากพระอรหันต์ แล้วให้พระวิษณุกรรมทรงสร้างเป็นพระพุทธปฏิมากร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ 4 องค์ คือ ในพระนลาฏ พระเมาลี พระอุระ และพระโอษฐ์”
เหตุที่มีการสร้างพระพุทธรูปกลางแจ้ง
ในอดีตกาล พระพุทธรูป ถือว่าเป็นหนึ่งใน ‘เจดีย์ (เจติยะ)’ แห่งพระบวรพุทธศาสนา ประเภท "อุเทสิกะเจดีย์" อันหมายถึง สิ่งที่สร้างเพื่ออุทิศให้พระศาสนา นอกเหนือจากนี้ก็มี ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ และธรรมเจดีย์ ดังนั้น เวลาทำการเคารพสักการะเจดีย์ต่างๆ เหล่านี้ มิใช่เพียงใช้การกราบไหว้หรือถวายดอกไม้ธูปเทียนเป็นพุทธบูชาเฉกเช่นในปัจจุบัน หากแต่จะใช้วิธีการเดินเวียนขวาที่เรียกว่า ‘ทักษิณาวัฎ 3 รอบ’
การดูพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์
"เป็นหนึ่งในหลักวิชาการที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝน จึงขอนำหลักการเบื้องต้นของพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์ ว่าความเก่าใหม่นั้นดูอย่างไร"
พระอัฎฐารส
พระอัฎฐารสเป็นพระพุทธรูปโบราณอาจกล่าวได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของอาณาจักรสุโขทัยก่อนที่จะรวมเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพุทธลักษณะจะเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่สูงตระหง่าน เป็นเอกลักษณ์แสดงถึงอิทธิพลเชิงช่างของสุโขทัยแต่ให้รายละเอียดและความงดงามสมบูรณ์สู้พระนั่งของสุโขทัยได้ไม่เต็มที่นักในศิลาจารึกสุโขทัยกล่าวถึงว่า
พระพุทธไสยาสน์ สิริมงคลของผู้เกิดวันอังคาร
“คติการสร้าง‘พระพุทธรูปปางไสยาสน์’ก็เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้รำลึกนึกถึงการเสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นอนุสติเตือนใจให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เพราะสังขารทั้งหลายนั้นไม่เที่ยง แม้พระพุทธองค์ยังเลี่ยงไม่พ้น”