หน้าแรก »
กรุพระ »
พระพุทธรูปพระบูชา » เหตุที่มีการสร้างพระพุทธรูปกลางแจ้ง
ในอดีตกาล พระพุทธรูป ถือว่าเป็นหนึ่งใน ‘เจดีย์ (เจติยะ)’ แห่งพระบวรพุทธศาสนา ประเภท "อุเทสิกะเจดีย์" อันหมายถึง สิ่งที่สร้างเพื่ออุทิศให้พระศาสนา นอกเหนือจากนี้ก็มี ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ และธรรมเจดีย์ ดังนั้น เวลาทำการเคารพสักการะเจดีย์ต่างๆ เหล่านี้ มิใช่เพียงใช้การกราบไหว้หรือถวายดอกไม้ธูปเทียนเป็นพุทธบูชาเฉกเช่นในปัจจุบัน หากแต่จะใช้วิธีการเดินเวียนขวาที่เรียกว่า ‘ทักษิณาวัฎ 3 รอบ’
ด้วยมูลเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้การสร้าง ‘พระพุทธรูป’ ในสมัยโบราณที่สร้างตามคติเดิม จึงมักจัดตั้งอยู่กลางแจ้ง เพื่อให้สาธุชนได้ทำการสักการะโดยเดินเวียนรอบตามลาน ที่เรียกกันว่า ลานประทักษิณ หรือ ฐานประทักษิณ ซึ่งเค้าโครงที่สืบทอดมา จะเห็นได้จากการเดินเวียนเทียนรอบโบสถ์ เป็นต้น

พระนอนอยุธยา
นอกจากนี้ พระพุทธรูปที่สร้างตามคติโบราณยังอาจพบการทำ "ซุ้มเรือนแก้ว" ครอบองค์พระที่อยู่กลางแจ้งเอาไว้ ซึ่งซุ้มเรือนแก้วนี้ นอกจากจะสื่อความหมายถึง "ฉัพรรณรังสี" หรือ รังสีที่เปล่งออกจากมหาบุรุษ 6 ประการแล้ว ยังหมายถึง การสร้างปราสาทหรือศาสนสถานครอบองค์พระเอาไว้อีกประการหนึ่งด้วย

หากตรวจดูซากโบราณสถานบริเวณวัดวาอารามเก่าแก่ จะพบว่า มีการสร้างพระพุทธรูปตั้งอยู่กลางแจ้ง และให้สังเกตบริเวณโดยรอบ หากขุดลึกลงไปอาจพบแนวอิฐทำเตี้ยๆ ขึ้นมา นั่นก็เพื่อใช้เป็นลานสำหรับเดิน ‘ทักษิณาวัฎ 3 รอบ’ นั่นเอง

พระอัจนะ สุโขทัย
ต่อข้อถามที่ว่า แล้วไม่กังวลว่าพระพุทธรูปจะตากแดดตากฝนหรือไร? ก็สามารถตอบโจทย์ได้ว่า พระพุทธรูปดังกล่าวก็เปรียบเสมือน ‘ธาตุเจดีย์’ ซึ่งไม่มีผู้ใดไปสร้างอาคารครอบเจดีย์เอาไว้ แต่ถ้าหากเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่มากๆ เช่น พระอัฏฐารส หรือ พระอัจนะ ของสุโขทัย ก็จะมีการสร้างเป็นมณฑปแคบๆ เปิดช่องประตูเพียงเล็กน้อย เราเรียกว่า "คันธกุฎิ" สื่อความหมายว่า เป็นสถานที่อันสงบสำรวมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิควรที่ผู้ใดจะเข้าไปรบกวน ซึ่งในความจริงแล้ว เป็นการก่อสร้างโดยคำนึงถึงองค์ประกอบของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม เพื่อให้มีผนังรับน้ำหนักขององค์พระพุทธรูปขนาดใหญ่เอาไว้ อันเป็นพัฒนาการขั้นต่อมาของ “การสร้างพระพุทธรูปกลางแจ้ง” ครับผม
โดย อาจารย์ราม วัชรประดิษฐ์ แฟนพันธุ์แท้พระเครื่อง
Share :
พระพุทธรูปพระบูชาอื่นๆ
|
|
พระพุทธบุศยรัตน์
“จันทรเทวบุตรได้แก้วผลึกขาวงดงามมาจากพระอรหันต์ แล้วให้พระวิษณุกรรมทรงสร้างเป็นพระพุทธปฏิมากร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ 4 องค์ คือ ในพระนลาฏ พระเมาลี พระอุระ และพระโอษฐ์”
การดูพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์
"เป็นหนึ่งในหลักวิชาการที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝน จึงขอนำหลักการเบื้องต้นของพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์ ว่าความเก่าใหม่นั้นดูอย่างไร"
พระอัฎฐารส
พระอัฎฐารสเป็นพระพุทธรูปโบราณอาจกล่าวได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของอาณาจักรสุโขทัยก่อนที่จะรวมเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพุทธลักษณะจะเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่สูงตระหง่าน เป็นเอกลักษณ์แสดงถึงอิทธิพลเชิงช่างของสุโขทัยแต่ให้รายละเอียดและความงดงามสมบูรณ์สู้พระนั่งของสุโขทัยได้ไม่เต็มที่นักในศิลาจารึกสุโขทัยกล่าวถึงว่า
พระพุทธไสยาสน์ สิริมงคลของผู้เกิดวันอังคาร
“คติการสร้าง‘พระพุทธรูปปางไสยาสน์’ก็เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้รำลึกนึกถึงการเสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นอนุสติเตือนใจให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เพราะสังขารทั้งหลายนั้นไม่เที่ยง แม้พระพุทธองค์ยังเลี่ยงไม่พ้น”
พระพุทธบุศยรัตน์
“จันทรเทวบุตรได้แก้วผลึกขาวงดงามมาจากพระอรหันต์ แล้วให้พระวิษณุกรรมทรงสร้างเป็นพระพุทธปฏิมากร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ 4 องค์ คือ ในพระนลาฏ พระเมาลี พระอุระ และพระโอษฐ์”
การดูพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์
"เป็นหนึ่งในหลักวิชาการที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝน จึงขอนำหลักการเบื้องต้นของพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์ ว่าความเก่าใหม่นั้นดูอย่างไร"
พระอัฎฐารส
พระอัฎฐารสเป็นพระพุทธรูปโบราณอาจกล่าวได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของอาณาจักรสุโขทัยก่อนที่จะรวมเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพุทธลักษณะจะเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่สูงตระหง่าน เป็นเอกลักษณ์แสดงถึงอิทธิพลเชิงช่างของสุโขทัยแต่ให้รายละเอียดและความงดงามสมบูรณ์สู้พระนั่งของสุโขทัยได้ไม่เต็มที่นักในศิลาจารึกสุโขทัยกล่าวถึงว่า
พระพุทธไสยาสน์ สิริมงคลของผู้เกิดวันอังคาร
“คติการสร้าง‘พระพุทธรูปปางไสยาสน์’ก็เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้รำลึกนึกถึงการเสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นอนุสติเตือนใจให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เพราะสังขารทั้งหลายนั้นไม่เที่ยง แม้พระพุทธองค์ยังเลี่ยงไม่พ้น”