หน้าแรก »
กรุพระ »
พระพุทธรูปพระบูชา » พระพุทธบุศยรัตน์
“จันทรเทวบุตรได้แก้วผลึกขาวงดงามมาจากพระอรหันต์ แล้วให้พระวิษณุกรรมทรงสร้างเป็นพระพุทธปฏิมากร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ 4 องค์ คือ ในพระนลาฏ พระเมาลี พระอุระ และพระโอษฐ์”

มีพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งที่ไม่ค่อยรู้จักกันนัก แต่มีความสำคัญเป็นที่ยิ่ง เรียกว่า "พระพุทธบุษยรัตน์ จักรพรรดิ์พิมลมณีมัย" มีความงดงามและล้ำค่ามาก พุทธลักษณะ เป็นแก้วผลึกสีขาวใสบริสุทธิ์ โบราณเรียก "บุษย์น้ำขาว" หรือ "เพชรน้ำค้าง" เดิมจึงเรียกกันว่า ‘พระแก้วผลึกขาว’ มีหน้าตักกว้าง 9 นิ้ว 4 กระเบียด พระอัษฎางค์สูง 12 นิ้ว 2 กระเบียด ประทับนั่งแบบมารวิชัย ปรากฏในตำนานว่า พบที่แขวงเมืองจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ในถ้ำเขาส้มป่อยนายอน ข้างฝั่งแม่น้ำโขง คงจะมีผู้นำไปซ่อนเมื่อครั้งบ้านเมืองเกิดศึกสงคราม เคยปรากฏเรื่องราวใน ‘พงศาวดารโยนก’ กล่าวถึงความว่า ... จันทรเทวบุตรได้แก้วผลึกขาวงดงามนี้มาจากพระอรหันต์ แล้วให้พระวิษณุกรรมทรงสร้างเป็นพระพุทธปฏิมากร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ 4 องค์ คือ ในพระนลาฏ พระเมาลี พระอุระ และพระโอษฐ์

ต่อมา พระแก้วผลึกขาว ได้ตกมาอยู่ที่เมืองละโว้ จนพระนางจามเทวีเสด็จขึ้นไปสร้างนครหริภุญไชย (ลำพูน) จึงอาราธนาไปด้วย จวบจนถึงปี พ.ศ.2011 พระเจ้าติโลกราชจึงอัญเชิญไปประดิษฐานที่นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่นานถึง 84 ปี ต่อมาในปี พ.ศ.2095 พระเจ้าไชยเชษฐาขึ้นครองเชียงใหม่ก่อนที่จะเสด็จไปครองนครหลวงพระบาง จึงอาราธนา ‘พระแก้วผลึกขาว’ และ ‘พระแก้วมรกต’ ไปประดิษฐานยังหลวงพระบางด้วย จนเมื่อกองทัพพม่ายกมาตีลาว พระแก้วผลึกขาวก็สาบสูญไปนับตั้งแต่บัดนั้น
กาลเวลาผ่านไป มีพรานป่าไปพบและนำมาถวายเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ และเมื่อกรุงรัตนโกสินทร์มีอำนาจเหนือลาว ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) จึงอาราธนามายังกรุงเทพมหานคร โดยทรงหาเนื้อแก้วผลึกสีขาวมาเจียรนัยเป็นปลายพระกรรณไม่ให้เกิดรอย และโปรดฯ ให้ช่างจัดทำฐานอย่างงดงาม ด้วยทองคำลงยาราชาวดีประดับเพชรพลอย ถวายฉัตร 9 ชั้น ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ข้างบูรพาทิศ ทรงสักการบูชาวันละ 2 เพลา มิได้ขาด
ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงบูรณะโดยเพิ่ม เพชร พลอย และถวายฉัตรเพิ่มเป็นกลาง ซ้าย และขวา แล้วถวายพระนามว่า “พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย” ฉลองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พร้อมทำพิธีฉลองสมโภช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในปี พ.ศ.2404 และทรงสร้างพุทธรัตนสถาน ประดิษฐานองค์พระในพระบรมมหาราชวัง ต่อมามีการเสาะหาแก้วผลึกขาวให้ช่างเจียรนัยสร้าง ‘พระพุทธบุษยรัตน์องค์น้อย’ ขึ้นอีกภายหลัง
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดฯ ให้อัญเชิญพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย ไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว ได้อัญเชิญกลับมาประดิษฐานยังพระพุทธรัตนสถานอีกครั้งหนึ่ง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้อัญเชิญ พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย กลับไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต จวบจนปัจจุบันครับผม
โดย อ.ราม วัชรประดิษฐ์
Share :
พระพุทธรูปพระบูชาอื่นๆ
|
|
เหตุที่มีการสร้างพระพุทธรูปกลางแจ้ง
ในอดีตกาล พระพุทธรูป ถือว่าเป็นหนึ่งใน ‘เจดีย์ (เจติยะ)’ แห่งพระบวรพุทธศาสนา ประเภท "อุเทสิกะเจดีย์" อันหมายถึง สิ่งที่สร้างเพื่ออุทิศให้พระศาสนา นอกเหนือจากนี้ก็มี ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ และธรรมเจดีย์ ดังนั้น เวลาทำการเคารพสักการะเจดีย์ต่างๆ เหล่านี้ มิใช่เพียงใช้การกราบไหว้หรือถวายดอกไม้ธูปเทียนเป็นพุทธบูชาเฉกเช่นในปัจจุบัน หากแต่จะใช้วิธีการเดินเวียนขวาที่เรียกว่า ‘ทักษิณาวัฎ 3 รอบ’
การดูพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์
"เป็นหนึ่งในหลักวิชาการที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝน จึงขอนำหลักการเบื้องต้นของพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์ ว่าความเก่าใหม่นั้นดูอย่างไร"
พระอัฎฐารส
พระอัฎฐารสเป็นพระพุทธรูปโบราณอาจกล่าวได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของอาณาจักรสุโขทัยก่อนที่จะรวมเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพุทธลักษณะจะเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่สูงตระหง่าน เป็นเอกลักษณ์แสดงถึงอิทธิพลเชิงช่างของสุโขทัยแต่ให้รายละเอียดและความงดงามสมบูรณ์สู้พระนั่งของสุโขทัยได้ไม่เต็มที่นักในศิลาจารึกสุโขทัยกล่าวถึงว่า
พระพุทธไสยาสน์ สิริมงคลของผู้เกิดวันอังคาร
“คติการสร้าง‘พระพุทธรูปปางไสยาสน์’ก็เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้รำลึกนึกถึงการเสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นอนุสติเตือนใจให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เพราะสังขารทั้งหลายนั้นไม่เที่ยง แม้พระพุทธองค์ยังเลี่ยงไม่พ้น”
เหตุที่มีการสร้างพระพุทธรูปกลางแจ้ง
ในอดีตกาล พระพุทธรูป ถือว่าเป็นหนึ่งใน ‘เจดีย์ (เจติยะ)’ แห่งพระบวรพุทธศาสนา ประเภท "อุเทสิกะเจดีย์" อันหมายถึง สิ่งที่สร้างเพื่ออุทิศให้พระศาสนา นอกเหนือจากนี้ก็มี ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ และธรรมเจดีย์ ดังนั้น เวลาทำการเคารพสักการะเจดีย์ต่างๆ เหล่านี้ มิใช่เพียงใช้การกราบไหว้หรือถวายดอกไม้ธูปเทียนเป็นพุทธบูชาเฉกเช่นในปัจจุบัน หากแต่จะใช้วิธีการเดินเวียนขวาที่เรียกว่า ‘ทักษิณาวัฎ 3 รอบ’
การดูพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์
"เป็นหนึ่งในหลักวิชาการที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝน จึงขอนำหลักการเบื้องต้นของพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์ ว่าความเก่าใหม่นั้นดูอย่างไร"
พระอัฎฐารส
พระอัฎฐารสเป็นพระพุทธรูปโบราณอาจกล่าวได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของอาณาจักรสุโขทัยก่อนที่จะรวมเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพุทธลักษณะจะเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่สูงตระหง่าน เป็นเอกลักษณ์แสดงถึงอิทธิพลเชิงช่างของสุโขทัยแต่ให้รายละเอียดและความงดงามสมบูรณ์สู้พระนั่งของสุโขทัยได้ไม่เต็มที่นักในศิลาจารึกสุโขทัยกล่าวถึงว่า
พระพุทธไสยาสน์ สิริมงคลของผู้เกิดวันอังคาร
“คติการสร้าง‘พระพุทธรูปปางไสยาสน์’ก็เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้รำลึกนึกถึงการเสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นอนุสติเตือนใจให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เพราะสังขารทั้งหลายนั้นไม่เที่ยง แม้พระพุทธองค์ยังเลี่ยงไม่พ้น”